ข้อมูลทั่วไป

ข้อมูลทั่วไปตำบลพิเทน

ประวัติ
                  ตำบลพิเทน จากการเล่าสืบต่อกันมากว่า ๓๐๐ ปี ชาวพิเทนอพยพมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งในสมัยนั้น ช้างเผือกคู่บ้านคู่เมืองเกิดสูญหาย พระเจ้าแผ่นดินจึงมีพระราชโองการให้ราชองครักษ์ซึ่งมีหน้าที่ดูแลรักษาช้าง ออกติดตามโดยพี่เณรและพี่น้อง คือเจ้าอ่อน นางผมยาวเก้าศอก นางเลือดยาว เจ้าภา ซึ่งเป็นควานช้างได้ออกติดตามช้างมา แต่ปรากฏว่าช้างสูญหายลงมาทางใต้และร่องรอยได้สูญหายไปในพื้นที่ของเมืองปัตตานี ซึ่งเป็นจังหวัดปัตตานีในปัจจุบัน เมื่อออกติดตามช้าง  แต่ไม่สามารถนำช้างกลับไปได้เพราะไม่พบช้างพี่เณร และพี่น้องทั้งหมดไม่กล้าเดินทางกลับอยุธยา เพราะกลัวอาญาแผ่นดิน พี่เณรและพี่น้องจึงตั้งรกรากอยู่ในป่าทึบ คือตำบลพิเทนในปัจจุบัน ส่วนคำว่า พิเทน สันนิษฐานว่าน่าจะมาจากคำว่า พี่เณร ในสมัยก่อนนั้น ซึ่งต่อมาได้เพี้ยนเป็น “บ้านพิเทน” จนถึงปัจจุบัน  และภาษาพูดของชาวพิเทนจะเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง  จะพูดแตกต่างไปจากภาษามลายูในท้องถิ่นทั่วไป ซึ่งจะพูดเป็นภาษามลายูพื้นเมืองโดยผสมกับภาษาไทยและราชาศัพท์ เป็นภาษาปักษ์ใต้

๑. สภาพทางภูมิศาสตร์
              .๑ ทำเลและที่ตั้งของชุมชน 
      ตำบลพิเทนเป็นตำบลหนึ่ง ในจำนวน ๔  ตำบลของอำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี  ตั้งอยู่ในเขตการปกครองของ อบต.ทั้งหมด  อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอทุ่งยางแดงทางทิศตะวันออก ประมาณ ๖  กิโลเมตร มี ๗ หมู่ มีเนื้อที่รวม ๔๒.๔๒ ตารางกิโลเมตร
             อาณาเขตติดต่อกับหมู่บ้าน ตำบลต่างๆ ดังนี้
           ทิศเหนือ              ติดกับ ตำบลสะกำ อำเภอมายอ 

           ทิศใต้                 ติดกับ  ตำบลปากู, ตำบลน้ำดำ อำเภอทุ่งยางแดง 
           ทิศตะวันออก        ติดกับ ตำบลเตราะบอนอำเภอสายบุรี และอำเภอกะพ้อ 
           ทิศตะวันตก         ติดกับ ตำบลลูโบะยิไร อำเภอมายอ


              .๒ ลักษณะภูมิประเทศ
               สภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มระหว่างภูเขา โดยจะมีเนินเขาอยู่ทางทิศตะวันออก และทิศตะวันตกของตำบล สภาพพื้นที่เหมาะแก่การทำการเกษตรกรรม  การเพาะปลูก ทำสวนยางพารา และสวนผลไม้  มีลำคลองธรรมชาติที่ไหลผ่านภายในชุมชน และแหล่งน้ำที่สร้างขึ้น คือ ฝายกักเก็บน้ำ ทำให้ประชาชนมีน้ำสำหรับการประกอบอาชีพทางการเกษตรตลอดปี

              .๓ ภูมิอากาศ
              ลักษณะภูมิอากาศของ ตำบลพิเทน อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี มีลักษณะภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน มี ๒ ฤดูกาล ได้แก่ ฤดูฝนและฤดูร้อน
              ฤดูฝน จะมี ๒ ระยะ คือ กลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม และดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคม และช่วงนี้ยังเป็นช่วงที่มักเกิดสภาวะน้ำท่วมของจังหวัดปัตตานี
              ฤดูร้อน จะอยู่ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน อุณหภูมิสูงสุดในเดือนเมษายนและอุณหภูมิต่ำสุดในเดือนธันวาคม
              จะเห็นได้ว่าสภาพภูมิอากาศของตำบลพิเทนมีช่วงที่เป็นฤดูฝนค่อนข้างที่จะยาวนานทำให้เกิดการกักเก็บน้ำตามแหล่งน้ำผิวดินต่างๆ กลายเป็นที่อยู่อาศัยและแหล่งขยายพันธุ์ของสัตว์น้ำหลากหลายชนิด นอกจากนี้ยังเป็นการเอื้อต่อการเจริญงอกงามของพืชพันธ์ ทั้งที่สามารถใช้เป็นยาสมุนไพรและใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆ

               .๔ ลักษณะการตั้งถิ่นฐานบ้านเรือน
               ลักษณะการตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนของชาวบ้านตำบลพิเทนส่วนใหญ่ จะตั้งถิ่นฐานกระจายตัวตามเส้นทางคมนาคมทั้งสายหลัก และสายย่อย และตามพื้นที่สวนทำมาหากิน โดยตั้งบริเวณละแวกเดียวกันกับบ้านเครือญาติของตัวเอง จากการสังเกตและการสัมภาษณ์ชาวบ้านในชุมชน จะพบว่า เมื่อมีการแต่งงานเกิดขึ้น ก็จะมีการแยกออกไปสร้างบ้าน สร้างครอบครัวใหม่ แต่ก็ยังอยู่ในละแวกใกล้เคียงกับบ้านบิดา มารดา บ้านพี่ บ้านน้อง ซึ่งอาจจะแยกเป็นครอบครัวเดี่ยว หรือเป็นครอบครัวเดี่ยวที่ไม่แยกออกจากครอบครัวเดิม หรืออาจจะมีการนำญาติผู้ใหญ่ที่มีอายุมาเลี้ยงดูด้วย อีกทั้งการสร้างบ้านในละแวกใกล้เคียงกันนั้น จะมีผลประโยชน์ในเรื่องต่างๆ เช่น การช่วยเหลือซึ่งกันและกันเมื่อมีความจำเป็น การแบ่งปันอาหาร ตลอดจนการพบปะพูดคุยกันในหมู่ญาติมิตร เป็นต้น
                   โดยทั่วไปแล้วลักษณะของบ้านในสมัยก่อนจะเป็นบ้านเดี่ยว สร้างด้วยไม้  ปัจจุบันชาวบ้านนิยมสร้างบ้านด้วยปูนซีเมนต์กันมากขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่จะสร้างเป็นบ้านชั้นเดียวและส่วนน้อยที่สร้างบ้านสองชั้น เพราะสามารถหาวัสดุในการสร้างได้ง่ายและสะดวกกว่าบ้านไม้ และบางส่วนก็มีการต่อเติมขยายตัวบ้านออกไปให้กว้างขึ้นอีก แต่โดยส่วนใหญ่แล้วชาวบ้าจะไม่ค่อยนิยมสร้างบ้านใหญ่โต หรือหรูหรามากมายเนื่องจากชาวบ้านจะตั้งบ้านเรือนตามสวนหรือที่ดินทำกิน สำหรับบริเวณรอบๆบ้าน ชาวบ้านนิยมปลูกผักสวนครัวไว้บริโภคในครัวเรือน

               .๖ แหล่งที่พึ่งด้านสุขภาพอื่นๆ ในพื้นที่
               เนื่องจากตำบลพิเทนอยู่ห่างจากโรงพยาบาลทุ่งยางแดงไม่มากนักเพียง  ๖ กิโลเมตร ทำให้ประชาชนสามารถไปใช้บริการที่โรงพยาบาลได้อย่างสะดวก  และภายในหมู่บ้านยังมีหมอพื้นบ้าน หมอตำแย (ผดุงครรภ์โบราณ) หมอเป่าน้ำมนต์ ที่มีความชำนาญ และประสบการณ์อย่างยาวนานเป็นที่เลื่อมใส เป็นทางเลือกของคนในพื้นที่อีกทางหนึ่ง  นอกจากนี้ มีร้านขายยา และคลินิกของตำบลใกล้เคียงที่เป็นที่นิยม ที่พึ่งของประชาชนในพื้นที่ได้เป็นอย่างดี

๒. สภาพทางประชากร ครอบครัวและเครือญาติ

              ๒.๑   โครงสร้างทางประชากร
                   โครงสร้างทางอายุ (Age Structure) ของประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ตำบลพิเทน อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี มีจำนวนทั้งสิ้น ,๑๔๖ คน แบ่งเป็นเพศชาย ,๙๖๖ คน คิดเป็นร้อยละ ๔๘.๖๘ และเพศหญิง ,๑๘๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๕๑.๓๒ จำนวนหลังคาเรือนมีทั้งสิ้น  ,๒๖๗ หลังคาเรือน จำนวนครอบครัวมีทั้งสิ้น ,๐๕๙ ครอบครัว
                  ๒.๒  โครงสร้างของครอบครัวและเครือญาติ
              โครงสร้างของครอบครัวภายในเขตตำบลพิเทนมีทั้งครอบครัวเดี่ยวที่ประกอบด้วย พ่อ แม่ ลูก และครอบครัวขยายที่ประกอบด้วยพ่อ แม่ ลูก ปู่ ย่า ตา ยาย ซึ่งครอบครัวที่เป็นครอบครัวเดี่ยวนั้นบางครอบครัวอาจเป็นครอบครัวเดี่ยวเชิงขยาย เพราะว่าหลังจากที่มีการแต่งงานและแยกออกไปสร้างครอบครัว สร้างบ้านใหม่แล้วก็จะมีการชักชวนปู่ ย่า ตา ยายไปอยู่ร่วมกันที่บ้านของตนด้วย จึงทำให้ไม่สามารถแบ่งแยกออกให้เห็นว่าเป็นครอบครัวเดี่ยวที่ชัดเจนได้
         
๓. สภาพทางสังคม

               สภาพสังคม เป็นสังคมชนบทที่มีการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เป็นเครือญาติ การดำเนินชีวิตจะดำเนินตามแบบแผนตามหลักศาสนาเป็นหลัก  โดยจะมีผู้นำศาสนา โต๊ะครู ผู้นำชุมชนทั้งที่เป็นทางการ และไม่เป็นทางการ เป็นที่รัก เคารพ  นับถือ และเชื่อฟังของคนในหมู่บ้าน  ซึ่งบุคคลเหล่านี้จะมีบทบาทอย่างมากในสังคม ที่คอยจะควบคุม สั่งสอน  ตักเตือนให้ประชาชนดำรงชีวิตอยู่ในครรลองประเพณีของชุมชน

               .๑ การปกครองและองค์กรต่างๆในชุมชน
               การปกครองมี   อบต.  กำนันและผู้ใหญ่บ้าน เป็นแกนนำในหมู่บ้าน นอกจากนี้ยังมีกลุ่มผู้นำศาสนาซึ่งเป็นอีกองค์กรหนึ่งที่มีบทบาทอย่างมาก  ซึ่งทั้งสองกลุ่มนี้ไม่ใช่คนกลุ่มเดียวกัน  ต่างคนต่างปฏิบัติหน้าที่ของตนเอง  โดยองค์การบริหารส่วนตำบลจะทำหน้าที่ในการบริหารด้านต่างๆ เช่น ด้านสังคม  เศรษฐกิจ  การศึกษา  และสาธารณูปโภคต่างๆ เป็นต้น ส่วนกำนัน  ผู้ใหญ่บ้านจะดูแลความสงบเรียบร้อย ความเดือดร้อนต่างๆ  ให้คำแนะนำ  ชี้แนะ ตักเตือน  สั่งสอนลูกบ้าน ด้านผู้นำศาสนาจะดูแลด้านพิธีกรรมต่างๆ ขนบธรรมเนียม  ประเพณี ครรลอง คำสั่งสอน ตามหลักศาสนา  นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยข้อพิพากต่างๆ รวมทั้งเป็นที่พึ่งด้านๆ ต่างๆ เป็นต้น

               .๒ ศาสนา
      การนับถือศาสนาของประชากร  ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม คิดเป็นร้อยละ ๙๙.๑๐  ของประชากรทังหมด  และศาสนาพุทธคิดเป็นร้อยละ ๐.๙๐  ซึ่งจะเป็นกลุ่มบ้านชาวพุทธ ประมาณ ๑๗  หลังคาเรือน อาศัยอยู่ในหมู่ ๖  บ้านโต๊ะชูด   สถาบันทางศาสนาที่มีอยู่คือ มัสยิด ซึ่งชาวบ้านได้ใช้เป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจตั้งแต่เกิดจนตาย และเป็นศูนย์รวมของชาวบ้านในชุมชนในโอกาสต่างๆ เช่น การเรียกประชุม การจัดงานต่างๆ การทำบุญในวันสำคัญทางศาสนา เป็นต้น ซึ่งในตำบลพิเทนจะมีมัสยิดทั้งหมดจำนวน ๑๓ มัสยิด โดยมัสยิดนั้นโต๊ะอิหม่าม คอเต็บ บิหล่าน และกรรมการมัสยิดทั้งหมด ๑๒ คน เป็นผู้ดูแลร่วมกับชาวบ้าน  โดยที่
              โต๊ะอีหม่าม ทำหน้าที่นำละหมาด และเป็นประธานคณะกรรมการมัสยิด
              โต๊ะคอเต็บ ทำหน้าที่นำละหมาด เทศน์ให้ความรู้ในการละหมาดวันศุกร์
              โต๊ะบิหล่าน ทำหน้าที่นำละหมาด เรียกชาวมุสลิมมาละหมาดเมื่อถึงเวลาละหมาด (การอาซานและอีกอมัต)
              ตำบลพิเทน มี ๑๒ มัสยิด ประกอบด้วย
                             ๑. มัสยิดดารุลมูฮายีรีน           ๒.มัสยิดอัสลาห์ (ข่าลิง)
                             ๓. มัสยิดตักวา                     ๔.มัสยิด ดาอุลอามาน
                              ๕. มัสยิดปาแดยอร์                ๖.มัสยิดนูรุลอิฮซานห์
                             ๗. มัสิยิดนูรุ๊ลอิสลามียะห์        ๘.มัสยิดบาแฆะ(ลาแล)
                             ๙.มัสยิดบาแฆะ (ตลาด)           ๑๐. มัสยิดโต๊ะชูด
                             ๑๑.มัสยิดบูเกะมัส                 ๑๒.มัสยิดปอฮงตือเบาะ

               .๓ การศึกษา
               ชุมชนตำบลพิเทนมีการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับก่อนประถมโดยจะมีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กภายในตำบล ๑ แห่งคือศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านป่ามะพร้าว ที่จะรับสอนเด็กที่มีอายุตั้งแต่ ๒.๖ ปีถึงอายุ ๔ ปีและมีโรงเรียนที่มีการเรียนการสอนภาคบังคับ ๔ โรง คือ โรงเรียนบ้านพิเทน โรงเรียนบ้านบือจะ โรงเรียนบ้านโต๊ะชูด และโรงเรียนตือเบาะ เป็นโรงเรียนที่สอนตั้งแต่ชั้นอนุบาลจนถึงชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ ๖ นอกจากนี้ ยังมีโรงเรียนเอกชนสอนศาสนา ๑ โรง  คือโรงเรียนอิสลามประชาสงเคราะห์ สอนตั้งแต่  ชั้นมัธยมปีที่ ๑ ถึงมัธยมปีที่    ควบคู่กับชั้นศาสนา ชั้นที่ ๑  ถึงชั้น ๑๐ เมื่อเด็กจบการเรียนขั้นสูงสุดในชุมชนก็จะไปเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้นในตัวอำเภอ หรือในจังหวัดและนอกจังหวัด แต่ก็มีบางส่วนที่เลือกเรียนทางศาสนาในโรงเรียนที่สอนทางศาสนาโดยเฉพาะที่เรียกว่า โรงเรียนปอเนาะ นอกจากนี้ยังมีโรงเรียนตาดีกา ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณมัสยิด โดยโรงเรียนตาดีกาเป็นโรงเรียนที่เปิดสอนเกี่ยวกับศาสนาและวัฒนธรรมให้แก่เด็กๆ ภายในชุมชน ซึ่งจะรับเด็กอายุ ๖-๑๒ ปี การเรียนการสอนอาจเทียบเท่ากับการเรียนการสอนในระดับอนุบาลและประถมศึกษาในสายศาสนา เปิดทำการเรียนการสอนทุกวันเสาร์และวันอาทิตย์เท่านั้น และจะปิดตอนช่วงเดือนที่ถือศีลอด (เดือนรอมฎอน) โดยจะแบ่งการเรียนการสอนออกเป็น ๔ ระดับชั้น

               ๓.๔  การคมนาคม
               การคมนาคมจะมีถนนสายหลักทางหลวงแผ่นดินจากอำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี ถึงอำเภอกะพ้อ  จังหวัดปัตตานีตัดผ่านหมู่ ๗ บ้านตือเบาะตำบลพิเทน และจะมีถนนสายหลักตัดผ่านกลางตำบล โดยจะเริ่มจากหมู่    ตำบลพิเทน ผ่านหมู่ ๑, , ,  , , ๖ ทะลุผ่านถึงตำบลเตราะบอน อำเภอสายบุรี  จังหวัดปัตตานี ประชาชนสามารถเดินทางและติดต่อกับหมู่บ้านอื่นๆได้โดยสะดวกเพราะสภาพถนนภายในหมู่บ้านเป็นถนนลาดยาง และถนนคอนกรีต  การเดินทางไม่มีรถโดยสารประจำทาง ประชาชนส่วนใหญ่จะมี รถจักรยานยนต์เกือบทุกหลังคาเรือน และรถยนต์บางส่วน

               ๓.๕  สาธารณูปโภคและการสื่อสาร      
                      การไฟฟ้าในเขตตำบลพิเทน อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี มีไฟฟ้าให้บริการภายในตำบล โดยจากจำนวนหลังคาเรือนทั้งหมู่บ้าน พบว่ามีไฟฟ้าใช้ทั้งหมด คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐  ส่วนน้ำดื่มน้ำใช้ จะใช้น้ำน้ำจากแหล่งน้ำใต้ดินโดยการสูบบ่อบาดาล โดยทั่วไปน้ำมีคุณภาพดี
                   การสื่อสาร จะมีเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ทุกเครือข่ายครอบคลุมทุกพื้นที่ ยกเว้นเครือข่าย ทรูมูท และจะมีตู้โทรศัพท์หยอดเหรียญบริการตามแหล่งชุมชนภายในหมู่บ้าน นอกจากนี้ยังมีวิทยุสื่อสารติดตั้งอยู่ที่ทำการผู้ใหญ่บ้านอย่างน้อยหมู่บ้านละ ๑ เครื่องอีกด้วย
๔. สภาพทางเศรษฐกิจ
                                      ชุมชนตำบลพิเทนประชาชนส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพด้านการเกษตร เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่เหมาะสมกับการประกอบอาชีพเกษตรกรรม เช่น การทำสวนยางพาราและการทำสวนผลไม้ แต่ก็ยังมีชาวบ้านบางส่วนประกอบอาชีพค้าขายและรับจ้างทั่วไป ซึ่งมีรายละเอียดในแต่ละอาชีพ ดังนี้
              อาชีพการทำสวนยางพารา จะเป็นการทำขี้ยาง (กือระ) และขายน้ำยางสด โดยการขายขี้ยางนั้นชาวบ้านจะเก็บขี้ยางไว้มากๆจึงจะขาย โดยจะไปขายให้กับจุดรับซื้อในหมู่บ้าน ซึ่งการทำขี้ยางนั้นเป็นที่นิยมกันมากในปัจจุบันเพราะใช้เวลาในการตัดยางน้อยลงถึงแม้ราคาถูกกว่ายางแผ่นก็ตาม สำหรับการขายน้ำยางสดนั้นชาวบ้านจะมีการขายทุกวัน โดยจะไปขายให้กับจุดรับซื้อในหมู่บ้าน  สำหรับปัญหาที่ชาวบ้านประสบในการกรีดยาง คือ ฝนตก ถ้าวันไหนฝนตกตั้งแต่ช่วงเย็นถึงรุ่งเช้า วันนั้นก็ไม่สามารถกรีดยางได้ เพราะจะทำให้หน้ายางเปียกและทำให้หน้ายางเปื่อยหรือเสียได้ อีกทั้งน้ำยางที่ได้จะไม่ไหลลงภาชนะที่รองไว้ รายได้ของคนในชุมชนส่วนใหญ่มาจากการกรีดยางโดยเฉลี่ยประมาณ ๗๐,๐๐๐ บาทต่อปี จึงทำให้ฐานะของชาวบ้านส่วนใหญ่อยู่ในขั้นที่มีกินมีใช้ไม่ขัดสนเรื่องเงินทอง
              อาชีพการทำสวนผลไม้ ชาวบ้านจะมีการทำสวนผลไม้ควบคู่ไปกับการกรีดยาง โดยการทำสวนผลไม้นั้นจะมุ่งหวังเพื่อเก็บไว้บริโภคในครัวเรือนและมุ่งหวังเพื่อการค้าขายเพื่อเป็นรายได้เสริมจากการกรีดยาง การทำสวนผลไม้ชาวบ้านจะมีที่ดินเป็นของตนเอง  สำหรับปัญหาที่ชาวบ้านประสบในการทำสวนผลไม้ คือ ราคาผลไม้จะมีราคาถูกโดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันที่ราคาผลไม้จะมีราคาถูกมาก เนื่องด้วยผลผลิตที่ออกมามากแต่ขาดพ่อค้าคนกลางที่จะเข้ามารับซื้อทำให้ผลผลิตไม่สามารถส่งออกนอกพื้นที่
              อาชีพค้าขาย ส่วนใหญ่จะเป็นการเปิดร้านขายของชำขนาดเล็กๆ หรือร้านขายปลีกในหมู่บ้าน บางบ้านจะมีการขายข้าวยำในตอนเช้าและขายเครื่องดื่มจำพวกน้ำชา กาแฟ ตลอดทั้งวันและภายในหมู่บ้านยังมีร้านขายก๋วยเตี๋ยว และอาหารตามสั่งที่มีการบริการในตอนกลางวัน
              อาชีพรับจ้าง จะมีอาชีพที่หลากหลาย เช่น อาชีพรับจ้างรับซ่อมมอเตอร์ไซค์ ซึ่งในชุมชนก็จะมีอยู่ ๖ แห่ง เปิดให้บริการทุกวันแต่ส่วนใหญ่แล้วจะทำเป็นอาชีพเสริมเท่านั้น
              อาชีพปักผ้าและทอผ้าของกลุ่มแม่บ้าน ในชุมชนจะมีการรวมตัวปักผ้าคลุมของกลุ่มแม่บ้านในชุมชน ซึ่งเป็นเครื่องแต่งกายของสตรีมุสลิม ส่วนการทอผ้าจะเป็นการส่งขายในโครงการพระราชดำริเท่านั้น กลุ่มแม่บ้านจะทำเป็นอาชีพเสริมหลังจากการกรีดยางเสร็จ นอกจากนั้นยังมีกลุ่มทำขนมต่างๆ ของกลุ่มแม่บ้านอีกด้วย  เช่น  ขนมกะหรี่ปับ ทองพับ  เป็นต้น
                   สำหรับการเลี้ยงสัตว์ จะนิยมเลี้ยงไว้กึ่งบริโภคโดยไม่นิยมเลี้ยงเพื่อการค้าขาย ซึ่งส่วนใหญ่จะเลี้ยงแบบปล่อยตามธรรมชาติ หากินเอง สัตว์ที่นิยมเลี้ยง ได้แก่ แพะ โค เป็ด และไก่   

 สภาพทางวัฒนธรรม

               ประชาชนเขตตำบลพิเทน อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี จะนับถือศาสนาอิสลามเป็นส่วนใหญ่ มีรูปแบบการดำเนินชีวิตที่ยึดถือศาสนาเป็นหลัก ดังนั้นวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตจึงก่อให้เกิดวัฒนธรรมที่หลากหลาย แต่จะมีลักษณะคล้ายคลึงและไม่แตกต่างไปจากประชาชนใน ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้

. จำนวนและลักษณะประชากรในความรับผิดชอบ

              จำนวนหลังคาเรือนทั้งสิ้น ๑,๒๖๗  หลังคาเรือน  จำนวนครัวเรือน ๒,๐๕๙ ครัวเรือน ประชากร ทั้งสิ้น ๘,๑๔๖  คน  เป็นเพศชาย ๓,๙๖๖  คน  เป็นเพศหญิง ๔,๑๘๐ คนประชากรจำแนกรายหมู่บ้าน พบว่าหมู่บ้านที่มีประชากรมากที่สุด คือ หมู่ที่ ๖ บ้านโต๊ะชูด ส่วนหมู่บ้านที่มีประชากรน้อยที่สุดคือ หมู่ที่ ๗ บ้านตือเบาะ   

ตารางที่ ๑     จำนวนประชากรและหลังคาเรือน รายหมู่บ้าน ปี ๒๕๕๖
หมู่ที่ / บ้าน
ฐานข้อมูล Dbpop ๓๐ มิ.ย. ๕๕
จำนวนหลังคาเรือน
จำนวนครัวเรือน
ประชากร
ชาย
หญิง
รวม
หมู่ ๑ บ้านข่าลิง 
๑๗๖
๒๕๙
๕๖๙
๕๙๘
,๑๖๗
หมู่ ๒ บ้านพิเทน 
๑๕๑
๒๔๒
๔๒๓
๕๑๖
๙๔๘
หมู่ ๓ บ้านป่ามะพร้าว
๒๐๐
๓๓๙
๖๖๑
๖๖๑
,๓๒๒
หมู่ ๔ บ้านบือจะ
๑๘๐
๒๘๑
๕๑๖
๕๗๓
,๐๘๙
หมู่ ๕ บ้านบาแฆะ
๒๑๑
๓๒๕
๖๙๓
๗๐๑
,๓๙๔
หมู่ ๖ บ้านโต๊ะชูด
๒๔๒
๔๕๐
๗๒๔
๗๓๖
,๔๖๐
หมู่ ๗ บ้านตือเบาะ
๑๐๗
๑๖๓
๓๗๑
๓๙๕
๗๖๖
รวม
,๒๖๗
,๐๕๙
,๙๖๖
,๑๘๐
,๑๔๖

ความหนาแน่นประชากร   .๙๕  คน / ครอบครัว   เฉลี่ย  .๔๒ คน/หลังคาเรือน    .๖๒ ครัวเรือน/หลัง

ภาพที่ ๒ แสดงปิรามิดประชากร



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น